เมนู

ในคำว่า ภิกฺขุ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุรูปใด
ตื่นขึ้นแล้วยินดี ภิกษุรูปนั้น พูดว่า เธอรูปนี้ ปฏิบัติผิดในข้าพเจ้าผู้หลับ
ข้าพเจ้าไม่รู้สึกตัว ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ). ก็ในสองบทว่า อุโภ นาเสตพฺพา
นี้ ความว่า พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียแม้ทั้ง 2 รูป ด้วยลิงคนาสนะ.
บรรดาผู้ประทุษร้ายและผู้ถูกประทุษร้ายทั้ง 2 รูปนั้น ผู้ประทุษร้าย
ไม่มีการทำปฏิญญา แต่ผู้ถูกประทุษร้าย พระวินัยธรสอบถามแล้ว พึงให้
นาสนะเสียด้วยคำปฏิญญา ถ้าเธอไม่ยินดี ไม่ควรให้นาสนะ. แม้ในวาระ
สามเณร ก็นัยนี้.

[ภิกษุผู้ถูกปฏิบัติผิดไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอาบัติและอาบัตินั้น ๆ ในวาระ
นั้น ๆ อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอนาบัติอย่างเดียว จึงตรัสคำว่า
อนาปตฺติ อชานนฺตสฺส เป็นต้น.
ในคำว่า อชานนฺตสฺส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุรูปที่
ชื่อว่า ผู้ไม่รู้สึกตัวนั้น ได้แก่ ผู้ที่หยั่งลงสู่ความหลับอย่างมาก ย่อมไม่รู้สึก
แม้ความพยายามที่คนอื่นทำแล้ว ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนภิกษุ
ผู้ไปพักกลางวันในป่ามหาวัน ใกล้เมืองไพศาลีฉะนั้น. สมจริงดังคำที่พระธรรม
สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกตัว พระ-
พุทธเจ้าข้า ! พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ! เมื่อภิกษุไม่รู้สึกตัว ไม่เป็น
อาบัติ.
ภิกษุที่ชื่อว่าไม่ยินดีนั้น ได้แก่ ผู้ที่แม้รู้สึกตัวแล้ว ก็ไม่ยินดี, ภิกษุ
เห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ เหมือนภิกษุผู้รีบลุกขึ้นทันทีในป่ามหาวัน ใกล้
เมืองไพศาลีนั้นนั่นเอง ฉะนั้น. สมจริงดังคำที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว